วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่อง การซ่อมแซมและการดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

เรื่อง "การซ่อมแซม การตกแต่ง และการดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย"   

   เรื่อง การซ่อมแซม การตกแต่ง
และการดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย







2. การซ่อมแซม การตกแต่งและการดัดแปลงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย








3. ขั้นตอนในการซ่อมแซมตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

4. สิ่งที่ใช้ตกแต่งดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย


   สาระสำคัญ
 การซ่อมแซม การตกแต่งและดัดแปลงเสื้อผ้าของตนเองและครอบครัว เป็นการประหยัดทรัพยากร และสร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ซึ่งการซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ มากมาย และมีขั้นตอนวิธีการต่างๆเหมาะสมกับประโยชน์การใช้สอย

    รายละเอียดสาระการเรียนรู้
 การศึกษาเรื่องการซ่อมแซม ตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สามารถแบ่งได้ดังนี้


 1.อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซม ตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
เครื่องมืออุปกรณ์ ลักษณะ ประโยชน์ใช้สอย
สายวัด                        ใช้วัดตัวเพื่อทราบขนาดสัดส่วนและใช้ในการสร้างแบบที่จะดัดแปลง
ไม้บรรทัด                   ใช้ขีดเส้นเมื่อต้องการออกแบบดัดแปลง
ไม้โค้งอเนกประสงค์   ใช้ในการออกแบบสร้างแบบส่วนโค้งต่างๆ เช่น สะโพง วงแขน ชายเสื้อหัวแขนและส่วนอื่นๆ
ดินสอ                         ใช้ขีดเส้นและทำเครื่องหมายที่ต้องการออกแบบ
ยางลบ                       ใช้ลบปรับเส้นตามแบบที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
กระดาษกดรอย          ใช้ลอกแบบบนลงผ้า
ชอล์กเขียนผ้า            ใช้ขีดทำเครื่องหมายลงบนผ้า
กรรไกร                       ใช้ตัดส่วนที่ต้องการในงานซ่อมแซม ดัดแปลง ตกแต่งเสื้อผ้า
ที่เลาะผ้า                    ใช้เลาะเสื้อผ้าอุปกรณ์ ตกแต่งในส่วนที่ต้องแก้ไข
ลูกกลิ้ง                       ใช้กลิ้งทับเส้นแบบเพื่อให้เห็นรอยหรือใช้กดรอยลงบนกระดาษหรือผ้าเพื่อทำเครื่องหมาย
เข็มสอย                     ใช้เนาสอย เย็บติดอุปกรณ์วัสดุตกแต่งและถักรังดุม
เข็มหมุด                     ใช้ตรึงแบบให้ติดกับผ้าหรือตรึงผ้าสองชิ้นให้ติดกันเพื่อสะดวกในการเนาเย็บ
เข็มจักร                      เป็นส่วนประกอบของจักรในการเย็บชิ้นส่วนและตะเข็บที่ต้องการ
ด้ายเย็บผ้า                 ใช้เย็บผ้าหรือชิ้นส่วนที่ต้องการให้ติดกัน
ปลอกนิ้ว                    ใช้สวมนิ้วกลางเพื่อรองนิ้วขณะเย็บด้วยมือเพื่อไม่ให้เข็มตำนิ้วมือ และช่วยดักเข็ม
หมอนเข็ม                  ใช้ปักและเก็บเข็มชนิดต่างๆ
เตารีด                        ใช้รีดผ้าก่อนตัดตะเข็บ ขณะตัดและหลังตัดตะเข็บต่างๆเสร็จ
ที่รองรีด                    ใช้รองรีดผ้า
หมอนรองรีด              ใช้รองรีดส่วนโค้งส่วนเว้า


2.สิ่งที่ใช้ตกแต่งเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
      2.1 โบ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปโบเสมอไป ในบางครั้งโบเป็นเครื่องตกแต่ง และในบางครั้งโบจะเป็นสิ่งที่ปิดรอยต่อเสื้อผ้า
      2.2 กระดุม  จะต้องดูว่าเหมาะสมกับเสื้อผ้าหรือไม่ และจะต้องคำนึงถึงขนาดลักษณะและสีของเนื้อผ้าเป็นสิ่งสำคัญ
      2.3 ลูกไม้  เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เสื้อผ้าสวยงาม ดูบอบบาง ละเอียด เหมาะสมกับผู้หญิง แต่ลูกไม้มีหลายลักษณะจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับแบบเสื้อผ้าและสีของเสื้อผ้า
      2.4 การปัก  ช่วยให้เสื้อผ้ามีค่าขึ้นอีกมาก จะต้องดูสี ลวดลาย และวัสดุที่ปักให้เหมาะสมด้วย การออกแบบจะต้องเว้นที่ไว้สำหรับปักให้เหมาะสมและแน่นอน
      2.5 กระเป๋า  ช่วยให้เสื้อมีจุดเด่นขึ้นไม่ใช้เป็นการตกแต่งโดยเฉพาะ
      2.6 ตะเข็บพิเศษ  เช่น เกล็ดขนาดต่างๆ กัน ให้ได้แบบเสื้อที่มีลวดลายพิเศษขึ้นและเกล็ดจะต้องมีช่วงจังหวะที่ดี
      2.7 ระบาย  การมีระบายบนตัวเสื้อ ช่วยให้แบบเสื้อมีความอ่อนวัยน่ารักขึ้นแต่ถ้าใช้มากจะเพิ่มความรุงรัง ไม่ควรใช้ระบายกับผ้าที่มีลวดลาย
      2.8 เข็มขัด  เพิ่มความเก๋ให้แบบเสื้อ เข็มขัดไม่จำเป็นต้องใช้เป็นเส้นคาดบางครั้งอาจใช้เป็นหัวเข็มขัดก็ได้แล้วแต่สมัยนิยม จะ อยู่ใต้อก เอว สะโพกก็ได้ ถ้าคนช่วงตัวยาวควรคาดให้สูงขึ้นจากเอว ถ้าคนช่วงตัวสั้นควรใช้ต่ำกว่าเอวถึงระยะสะโพก


3.ขั้นตอนในการซ่อมแซม ตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย      3.1  สำรวจเสื้อผ้าเก่า  ได้แก่ เสื้อผ้าที่ใส่แล้วไม่พอดีตัว แบบสีล้าสมัยไม่เหมาะกับกิจกรรมและอาชีพ สั้นและแคบเกินไป มีรอยชำรุด ซักรีดยาก ต้องดูแลเป็นพิเศษ
      3.2  จำแนกประเภทเสื้อผ้า  เพื่อนำไปซ่อมแซม ดัดแปลง การจำแนกประเภทเสื้อผ้าสามารถจำแนกเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้
             3.2.1 ประเภทที่ซ่อมแซมได้หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น ซ่อมแซมซิปติดกระดุมหรือเปลี่ยนกระดุมใหม่ ขยาย หรือ พับชายใหม่ ปรับขนาดตัวตามส่วนของร่างกายที่ลด หรือ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
            3.2.2  ประเภทที่ดัดแปลงเป็นของใหม่  ทั้งนี้เพราะไม่สามารถซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กๆน้อยๆได้ จำเป็นต้องคิดหาวิธีออกแบบ ดัดแปลง ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนสภาพไปเกือบทั้งหมด และก่อนที่จะดัดแปลงเสื้อผ้าให้ได้ดี จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆ ตลอดจนเลือกวัสดุมาใช้อย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น